maipatana.me

Semiology and the Urban โดย โรล็องด์ บาร์ตส์

Roland Barthesurbanสถาปัตยกรรมสัญวิทยา

ด้วยความที่วันก่อนเล่าถึงหนังสือที่มีการใช้สัญวิทยาในการมองงานสถาปัตยกรรม (ดู [หนังสือ] สถาปัตยกรรมไทย หลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙ จึงมีความคิดว่าอยากแปลบทความ Semiology and The Urban (เป็น Lecture วันที่ 16 พฤษภาคม ในปี 1967) ของ Roland Barthes ซึ่งผมไม่ทราบว่ามีใครแปลเป็นไทยไว้ที่ไหนแล้วหรือเปล่า อาจจะมี แต่ไม่เป็นไร ผมหาไม่เจอ และเผื่อจะมีคนหาไม่เจอเหมือนผม และเผื่อจะมาเจออันนี้ แต่ขอให้ทราบไว้ก่อนเลยว่าผมไม่ใช่นักแปลมืออาชีพ อาจจะมีแปลไม่ดีบ้าง (และคงจะมีแน่นอน) เพราะผมคงจะแปลในแบบเกือบจะตรงตัวทั้งหมด คงไม่ได้ปรับประโยคให้เป็นตามหลักภาษาไทยมากเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยๆน่าจะทำให้เป็นแนวทางบ้างว่าควรไปศึกษาเพิ่มเติมกันตรงไหน

ถ้าอ่านแล้วงง ขอให้ทราบว่าเป็นเพราะการแปลของผมเอง และให้เทียบกลับไปที่ต้นฉบับ เพื่อจะได้หายงงนะครับ

อ่านต้นฉบับที่ผมใช้แปลได้จากหนังสือ Rethinking Architecture edited โดย Neil Leach หน้า 166-172 หรือจาก ที่นี่


semiology_and_the_urban

สัญวิทยาและความเป็นเมือง (Semiology and The Urban)

หัวข้อในการพูดคุยกันวันนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาบางเรื่องที่เกี่ยวกับสัญวิทยาของเมือง

     แต่ผมควรบอกไว้ก่อนว่าสำหรับใครก็ตามที่ต้องการจะเห็นภาพกว้างของสัญศาสตร์ของเมือง จะต้องเป็นนักสัญศาสตร์ (ผู้เชี่ยวชาญด้านสัญญะ) นักภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักวางผัง สถาปนิก และบางที นักจิตวิเคราะห์ เป็นทั้งหมดนี้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ผม - จริงๆแล้วผมไม่ได้เป็นนักอะไรพวกนั้นเลยนอกจากนักสัญศาสตร์ ซึ่งผมก็แทบจะไม่ใช่ - มุมมองต่างๆที่ผมกำลังจะนำเสนอต่อคุณคือมุมมองของมือสมัครเล่นในความหมายที่เป็นรากฐานของคำว่ามือสมัครเล่น: มือสมัครเล่นด้านสัญญะ เป็นแค่คนที่รักในสัญญะ; มือสมัครเล่นด้านเมือง เป็นแค่คนที่รักในเมือง สำหรับผม คนที่รักทั้งเมืองและสัญญะ และความรักทั้งสองอย่างนี้ (ซึ่งจริงๆแล้วคงอย่างเดียว) นำพาผมให้เชื่อในความเป็นไปได้ของสัญศาสตร์ของเมือง แม้ว่าบางทีอาจจะเป็นเพียงแค่ข้อสมมติฐานก็ตาม คำถามก็คือ ภายใต้ลักษณะหรือบางทีอาจจะเป็นข้อจำกัดอะไร และการเริ่มต้นอะไรที่จะทำให้สัญศาสตร์ของเมืองเป็นไปได้?

     นี่คือสาระสำคัญของมุมมองต่างๆที่ผมกำลังจะนำเสนอ อย่างแรกผมต้องการที่จะพูดถึงอะไรบางอย่างที่ชัดเจนมากๆซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของเรา: พื้นที่ว่างของมนุษย์ในทั่วๆไป (และไม่ใช่เพียงพื้นที่ว่างของเมือง) เป็นพื้นที่ว่างที่น่าพอใจมาโดยตลอด ความรู้ของภูมิศาสตร์และโดยเฉพาะความรู้ในการเขียนแผนที่สมัยใหม่สามารถจัดว่าเป็นการก้าวข้ามข้อจำกัดในเรื่องของการปิดกั้นที่บดบังสาระสำคัญของสิ่งต่างๆ (ความบดบังที่เหมือนสิ่งอื่นๆที่เป็นเพียง 'จินตนาการ') และก่อนที่ผมจะพูดถึงเมือง ผมขอทบทวนข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์ของตะวันตก พูดให้เจาะจงก็คือกรีกโบราณ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โลกที่มนุษย์รู้จักที่เป็นโลกที่มนุษย์อยู่อาศัย โลกที่เราแลเห็นในแผนที่โลกอันแรกๆจากนักภูมิศาสตร์ชาวกรีก - อานักซิมานเดอร์ และ เฮกคาเทอุส (Anaximander, Hecataeus) - หรือจากการวาดแผนที่จากการนึกคิดจากเฮโรโดตุส (Herodotus) ได้สร้างวาทกรรมที่ดูจะเป็นจริงกับความสมมาตรของมัน ความแตกต่างในทางตรงกันข้ามของสถานที่ต่างๆ ด้วยลักษณะความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและยุคสมัยนั้นๆ แผนที่โลกของเฮโรโดตุสในรูปแบบการวาดมีการประกอบสร้างเหมือนภาษา เหมือนท่อนคำ เหมือนบทกลอน ของความแตกต่างตรงกันข้าม: ดินแดนที่ร้อนดินแดนที่เย็น ดินแดนที่ถูกรู้ดินแดนที่ไม่ถูกรู้; และด้วยความแตกต่างในทางตรงกันข้ามของฝั่งหนึ่งก็มนุษย์ อีกฝั่งก็สัตว์ประหลาดและสัตว์ในเทพนิยาย และอื่นๆ

     ถ้าเริ่มจากที่ว่างทางภูมิศาสตร์ ตอนนี้เราได้ผ่านเข้าไปสู่พื้นที่ว่างทางเมืองแล้ว ผมขอทบทวนประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับ_ความเท่าเทียมกัน_ที่ถูกประทับลงที่เอเธนส์ในช่วงศตวรรษที่ 6 โดยคนอย่างไคลส์เธอนีส (Cleisthenes) คือแนวคิดที่เป็นโครงสร้างอย่างแท้จริงโดยที่ส่วนกลางเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษ เมื่อความสัมพันธ์ต่างๆของพลเมืองต่อพื้นที่ว่างของเมืองนั้นเป็นทั้งแบบสมมาตรและย้อนกลับได้ในเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกัน แนวคิดของเมืองนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะแนวความคิดเรื่องการใช้ประโยชน์ของการกระจายเมืองนั้นมีเรื่องของการใช้งานและการถูกใช้งานเป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยไม่ต้องสงสัยในยุคสมัยปัจจุบัน โดยเรื่องนี้จะปรากฏในช่วงต่อๆไป

     ผมอยากจะย้ำเตือนคุณถึงประวัติศาสตร์แบบสัมพัทธนิยมในแนวคิดของการให้ความหมายกับพื้นที่ว่าง สุดท้ายนี้ ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ที่นักโครงสร้างนิยมอย่างเลวี่ สเตราส์ (Lévi-Strauss)เขียนในหนังสือ Tristes Tropiques ได้นำเสนอเกี่ยวกับสัญวิทยาของเมือง แม้ว่าจะอยู่ในขนาดที่เล็กกว่าเมือง ประเด็นการศึกษาคือหมู่บ้าน Brororo ที่เขาศึกษาโดยใช้วิธีเข้าหาแบบการหาความหมาย

     มันน่าประหลาดที่ความคู่ขนานของทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการให้ความหมายกับพื้นที่ว่างที่ถูกอยู่อาศัยและทฤษฎีที่ปราณีตของการวางผังเมือง ได้พัฒนาอย่างแข็งขันมาถึงแค่ (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด) การดูปัญหาของการให้ความหมายกับพื้นที่ขนาดเล็กเท่านั้น เพื่อความแน่ใจ ข้อยกเว้นมีอยู่เสมอ นักเขียนหลายๆคนได้พูดถึงเมืองในลักษณะของความหมาย ผมคิดว่านักเขียนคนหนึ่งที่ชี้แจงเรื่องความหมายที่เป็นแก่นในธรรมชาติของพื้นที่ว่างของเมืองก็คือวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) โดยวิกตอร์ อูโกได้เขียนในหนังสือ Notre-Dame de Paris เอาไว้อย่างงดงาม อย่างละเอียดและเข้าใจง่าย ในบท 'This will kill that'; โดย 'this' หมายถึงหนังสือเล่มนั้น ส่วน 'that' หมายถึงอนุสรณ์สถาน ด้วยการแสดงตัวเขาเองในลักษณะนี้ อูโกได้ให้หลักฐานที่เป็นสมัยใหม่ของการรับรู้อนุสรณ์สถานและเมืองในลักษณะที่เป็นข้อความอย่างแท้จริง เป็นดั่งการจารึกของมนุษย์ลงไปในพื้นที่ว่าง บทนี้ของวิกตอร์ อูโกได้อุทิศให้แก่การแข่งกันระหว่างวิธีการเขียนทั้งสองแบบ การเขียนบนหินและการเขียนบนกระดาษ แน่นอนว่าหัวข้อนี้เป็นประเด็นที่สำคัญในการเขียนของนักปรัชญาในปัจจุบันอย่างฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida) ในแวดวงนักวางผังเมืองนั้นไม่มีการพูดคุยเกี่ยวกับความหมายของเมืองเลย; มีคนเดียวที่ดูจะเข้าข่ายอย่างชอบธรรมก็คือชาวอเมริกันชื่อเควิน ลินซ์ (Kevin Lynch) ซึ่งดูจะใกล้เคียงที่สุดกับการมองปัญหาเกี่ยวกับความหมายของเมืองโดยเท่าที่เห็นแล้วเขายุ่งอยู่กับการคิดเกี่ยวกับเมืองในลักษณะของการรับรู้ของจิตสำนึก ซึ่งหมายความว่าการค้นหาภาพลักษณ์ของเมืองในทัศนะของผู้อ่านเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้วการศึกษาของลินซ์โดยมองจากมุมมองของสัญศาสตร์แล้วยังดูคลุมเครืออยู่; ทางหนึ่ง...

"ช่วงนี้ผมขี้เกียจแปลนะ ผมขอข้ามไปเริ่มตรงจุดที่ผมคิดว่าเข้าเรื่องเลยดีกว่าครับ เป็นย่อหน้าที่ 1 ของหน้าที่ 168 ที่เริ่มว่า The city is a discourse..."

     เมืองคือวาทกรรมและวาทกรรมนี้คือภาษาอย่างแท้จริง: เมืองพูดกับผู้อยู่อาศัยในตัวมัน เราพูดเมืองที่เราอยู่โดยเพียงอยู่อยู่ในมัน โดยตระเวนไปในมัน โดยมองดูมัน แต่ถึงอย่างไรปัญหาก็คือการนำการแสดงออกอย่าง 'ภาษาของเมือง' ออกมาจากระดับที่เป็นเพียงการอุปมา มันง่ายมากที่จะพูดอย่างอุปมาถึงภาษาของเมืองดั่งที่เราพูดถึงภาษาของภาพยนต์หรือภาษาของดอกไม้ ความก้าวหน้าอย่างแท้จริงของศาสตร์ด้านนี้คือเมื่อเราได้ตระหนักถึงการพูดภาษาเมืองโดยปราศจากการอุปมา และเราสามารถพูดได้แบบเดี่ยวกันนี้กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับฟรอยด์ (Sigmund Freud) ตอนที่เขาพูดภาษาความฝันเป็นครั้งแรก ขจัดการแสดงออกโดยใช้ความหมายที่อุปมาเพื่อจะได้ให้ความหมายที่แท้จริง เราจะต้องประจันกับปัญหานี้เช่นกัน: ต้องทำอย่างไรเราถึงจะผ่านจากการอุปมาไปสู่การวิเคราะห์เมื่อเราพูดภาษาเมือง อีกครึ่งหนึ่งที่ผมอ้างถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของปรากฏการณ์ของเมือง แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นจะห่างไกลกับปัญหาทางสัญศาสตร์ของเมือง แต่พวกเขาได้สังเกตว่า: 'ข้อมูลที่มีอยู่ในสังคมวิทยานำเสนอในรูปแบบที่ไม่เหมาะที่จะปรับไปสู่การผสานกันกับโมเดลเหล่านี้' ถ้าเรามีความยากลำบากในการใส่โมเดลด้วยข้อมูลที่ถูกเสนอมาจากจิตวิทยา สังคมวิทยา ภูมิศาสตร์ และประชากรศาสตร์ มันคงจะชัดเจนว่าเป็นเพราะเราขาดเทคนิคใหม่ล่าสุดที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ ดังนั้นเราต้องการศาสตร์ใหม่ที่จะแปลงข้อมูลเหล่านี้ เพื่อผ่านจากการอุปมาไปสู่การบรรยายความหมาย และมันก็เป็นจุดนี้ที่สัญวิทยา (ในความหมายที่กว้างที่สุดของคำว่าสัญวิทยา) อาจจะสามารถช่วยเหลือในส่วนนี้ได้ แม้ว่าจะทำโดยวิธีใดยังไม่อาจทราบได้ก็ตาม ผมไม่ได้ตั้งใจที่จะมาพูดเรื่องการค้นพบขั้นตอนของสัญศาสตร์ของเมือง มันมีความเป็นไปได้ที่ขั้นตอนเหล่านั้นประกอบไปด้วยการแยกองค์ประกอบของเนื้อหาเป็นหน่วยๆ จากนั้นจัดหน่วยเหล่านั้นให้ไปอยู่ในหมวดหมู่อย่างเป็นกิจจะลักษณะ และลำดับที่สาม ค้นหากฎเกณฑ์ของการผสมรวมกันและการเปลี่ยนแปลงของหน่วยและโมเดลเหล่านั้น ผมจะจำกัดขอบเขตของผมอยู่ที่ 3 ประเด็นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเมือง แต่น่าจะสามารถนำทางไปสู่สัญวิทยาของเมืองที่ปัจจุบันประเด็นเหล่านี้ร่างข้อสรุปรวมของสัญวิทยาในปัจจุบันและได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าในอีกไม่กี่ปีนี้ภูมิทัศน์ของสัญวิทยาจะไม่เหมือนเดิมอีก

     ประเด็นแรกเกี่ยวกับ 'การแสดงความหมาย' (symbolism) ประเด็นนี้ในปัจจุบันก็ไม่ได้ถูกรับรู้ว่าเป็นความเชื่อมโยงกันของความหมายระหว่างสิ่งต่างๆที่ปรากฏ/ตัวหมาย/รูปสัญญะ (signifiers) กับความหมายเหล่านั้น/ตัวหมายถึง/ความหมายสัญญะ (signifieds) แล้วในระดับพื้นฐาน พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าแนวคิดเรื่องสัญศาสตร์ที่เป็นรากฐานเมื่อหลายปีก่อนได้ตายไปแล้ว; มันคือแนวคิดแบบพจนานุกรม (lexicon) ที่เป็นรายการของความหมายและตัวหมายที่ตรงกัน ในวิกฤติแบบนี้ เรื่องการทำลายแนวคิดเรื่องพจนานุกรมสามารถหาได้ในงานวิจัยจำนวนมาก อย่างแรกเลย มีการแจกแจงสัญญะในสาขาของชัมสกี (Noam Chomsky) เช่นจากคัทซ์และโฟดอร์ (Elihu Katz และ Jerry Fodor) ซึ่งเป็นคนที่เปิดฉากโจมตีอย่างหนักแน่นกับพจนานุกรม ...

"ช่วงนี้เค้าก็อธิบายเรื่องราวในรายละเอียดของประเด็นนี้ ซึ่งผมขอข้ามไปยังประเด็นที่ 2 ในหน้า 170 เลยละกันนะครับ"

     ประเด็นที่ 2 ของผมคือมันสำคัญมากที่การแสดงความหมายต้องถูกนิยามในโลกของตัวหมาย ของความสันพันธ์ และโดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถล้อมกรอบความหมายทั้งหมดได้ในการให้ความหมายขั้นสุดท้าย นับจากนี้ไป จากจุดยืนของเทคนิคการบรรยายการจำแนกองค์ประกอบความหมายสัญญะได้ปลดปล่อยออกมาในความหมายของการค้นพบความหมาย นี่เป็นจริงสำหรับความหมายแบบชัมสเกี่ยนของคัทซ์และโฟดอร์และแม้กระทั่งสำหรับการวิเคราะห์ต่างๆของลาวี่ สเตราส์ซึ่งตั้งอยู่บนความชัดเจนของความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่แบบตามการเทียบเคียง (analogical) แต่เป็นแบบตามความคล้ายคลึง (homological) (เป็นจุดที่เขาแสดงให้เห็นในหนังสือเกี่ยวกับการสลักเสาที่ไม่ค่อยถูกอ้างถึงนัก) ดังนั้นเราจะพบว่าเมื่อเราต้องการจะทำสัญศาสตร์ของเมือง บางทีเราคงต้องพัฒนาหมวดหมู่ของการให้ความหมายไปให้ไกลขึ้นและมีรายละเอียดมากขึ้น  สำหรับเรื่องนี้ผมคิดว่าประสบการณ์ของผมเป็นเพียงมือสมัครเล่นเท่านั้น เรารู้ว่าในเมืองใดๆต่างก็มีพื้นที่ว่างที่หยิบยืนพื้นที่สำหรับใช้งานได้แบบเฉพาะและมีความซับซ้อนของที่นั้นๆ: ยกตัวอย่างตลาดนัดในแถบตะวันออกกลาง ที่ๆถนนเส้นหนึ่งเอาไว้รองรับคนฟอกหนังส่วนถนนอีกเส้นรองรับช่างทอง; บางส่วนของโตเกียวในพื้นที่ใกล้เคียงกันจะดูเป็นเนื้อเดียวกันในมุมมองของการใช้งาน: โดยเฉพาะบางที่เราพบว่ามีแค่บาร์และที่ขายอาหารว่างและสถานที่สันทนาการเท่านั้น เราจะต้องก้าวข้ามความหมายขั้นพื้นฐานขั้นแรกนี้ไปก่อนและอย่าจำกัดการอธิบายความหมายของเมืองอยู่แค่นี้ เราจะต้องพยายามถอดองค์ประกอบของโครงสร้างระดับจุลภาคแบบเดียวกับที่เราสามรถแยกชิ้นส่วนของท่อนคำในประโยคยาวๆได้ เราจะต้องทำให้ติดเป็นนิสัยกับการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างปราณีตซึ่งจะนำเราไปสู่โครงสร้างระดับจุลภาคและในทางกลับกันเราจะต้องคุ้นชินกับการวิเคราะห์ที่กว้างของโครงสร้างระดับมหภาคด้วยเช่นกัน เราทุกคนรู้ว่าโตเกียวเป็นเมืองที่หนาแน่นมาก; มันมีแกนของเมืองอยู่ประมาณ 5 ถึง 6 ศูนย์กลาง เราจะต้องเรียนรู้จากแยกแยะศูนย์กลางเหล่านั้นอย่างเป็นความหมาย ศูนย์กลางเมืองเหล่านั้นจริงๆแล้วก็ถูกกำหนดโดยสถานีรถไฟ ในอีกความหมายหนึ่ง แม้แต่ในส่วนนี้ โมเดลที่ดีที่สุดของการศึกษาความหมายของเมืองจะถูกเตรียมให้จากบางส่วนของวาทกรรม อย่างน้อยผมเชื่อว่าในช่วงเริ่มต้นจะเป็นอย่างนั้น และตรงนี้เราได้พบอีกครั้งกับความคิดเก่าของวิกตอร์ อูโก: เมืองคือการเขียน เขาผู้ซึ่งเคลื่อนผ่านเมืองเช่น ผู้ใช้งานเมือง (เราทุกๆคน) คือผู้อ่านที่ทำตามวัตรปฏิบัติและวิธีการเคลื่อนไหวของเขา และเป็นผู้ที่จัดสรรชิ้นส่วนของวาทะเพื่อทำให้มันเป็นจริงอย่างลับๆ เมื่อเราเคลื่อนผ่านเมือง เราทั้งหมดอยู่ในสถานะของผู้อ่าน ผู้อ่านที่อ่านบทกลอนเป็นแสนล้านของเกอโน (Raymond Queneau - คิดว่าเขาหมายถึงคนนี้นะ) ที่ๆใครก็สามารถเจอบทกลอนที่แตกต่างเพียงแค่เปลี่ยนบรรทัด; อย่างไม่รู้ตัว; เราเป็นเหมือนกับผู้อ่านรุ่นบุกเบิกเมื่อเราอยู่ในเมือง

     ประเด็นที่ 3 ประเด็นสุดท้ายก็คือวันนี้สัญศาสตร์ไม่เคยตั้งตนเป็นศาสตร์ของการให้ความหมายที่เด็ดขาด นี่หมายความว่าความหมายก็เป็นตัวหมายสำหรับความหมายอื่นๆและในทางกลับกันในเวลาเดียวกัน ในความเป็นจริง ในความซับซ้อนทางวัฒนธรรมหรือแม้แต่ความซับซ้อนทางจิตวิทยา เราเผชิญกับความเกี่ยวโยงกันแบบไม่รู้จบของการอุปมาที่ความหมายนั้นทั้งถอดถอนและตัวมันเองกลายมาเป็นตัวหมาย โครงสร้างนี้กำลังถูกค้นคว้า อย่างที่เรารู้ ด้วยวิธีจิตวิเคราะห์โดยฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan) และด้วยการศึกษาการเขียนของเขา ที่เป็นการชี้ให้เห็นถ้าไม่ใช่การค้นคว้า ถ้าเราประยุกต์แนวความคิดเหล่านี้ต่อเมือง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราจะถูกนำไปสู่การเปิดเผยมิติที่ผมต้องบอกเลยว่าไม่เคยถูกอ้างถึงมาก่อน อย่างน้อยก็อย่างชัดเจนในการศึกษาและสำหรวจการวางผังเมือง ผมขอเรียกมันว่ามิติ_อีโรติก_ ความอีโรติกของเมืองคือสิ่งที่เราสามารถสร้างจากธรรมชาติที่อุปมาของวาทกรรมเมืองที่ไม่รู้จบ ผมใช้คำว่าความอีโรติกในความหมายที่กว้างที่สุด: มันคงไม่มีประโยชน์ที่จะสมมุติว่าความอีโรติกของเมืองนั้นครอบคลุมแค่ความหมายเกี่ยวกับความพอใจความสุข สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับสถานที่ให้ความสุขเป็นหนึ่งในความลึกลับที่ซับซ้อนของการทำงานของเมือง มันเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการใช้งานและไม่ใช่แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย; ผมใช้คำว่าความอีโรติกหรือ_การเข้าสังคม_สลับกันไปมา และก็เพราะเหตุผลนี้ที่ศูนย์รวมคนในทุกๆเมือง; ศูนย์กลางเมืองนั้นถูกสถาปนาให้เป็นศูนย์รวมคนโดยคนหนุ่ม พวกวัยรุ่น

     เมื่อพวกวัยรุ่นเหล่านั้นพูดถึงภาพลักษณ์ของเมือง เขามักจะมีแนวโน้มที่จะจำกัด เจาะจง บดอัดอยู่ที่ใจกลาง; ศูนย์กลางเมืองนั่นถูกรับรู้ว่าเป็นสถานที่ของการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางสังคมและผมเกือบจะบอกว่ากิจกรรมอีโรติกในความหมายกว้างๆของคำว่าอีโรติก แต่ถึงอย่างไร ศูนย์กลางเมืองนั้นบ่อยครั้งถูกรับรู้ดั่งเป็นพื้นที่ว่างที่พลังแห่งการสร้าง พลังแห่งการแบ่งและพลังแห่งความสนุกสนานมาบังเกิดและพบกัน การเล่นคือประเด็นที่บางครั้งถูกเน้นย้ำในการสำหรวจเมือง; ในฝรั่งเศสมีการสำหรวจจำนวนมากที่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของเมืองปารีสต่อคนชนบท และมันถูกสังเกตผ่านการสำหรวจเหล่านี้ว่าปารีส ดั่งที่เป็นศูนย์กลางนั้นบ่อยครั้งถูกรับรู้ในเชิงความหมายโดยคนนอกว่าเป็นที่ที่มีสิทธิพิเศษกว่าที่ที่เมืองอื่นๆเป็น และเป็นที่ที่ตัวเราและคนอื่นนั้นแสดงบทบาทของคนอื่น ในทางกลับกัน ที่อื่นๆที่ไม่ใช่ศูนย์กลาง พูดให้ชัดๆก็คือที่ๆไม่ใช่สถานที่ที่สนุกสนาน ทุกๆอย่างที่ไม่ใช่ความเป็นอื่น/ความเป็นคนอื่น: ครอบครัว ที่พักอาศัยและอัตลักษณ์ โดยธรรมชาติแล้ว และโดยเฉพาะธรรมชาติสำหรับเมืองแล้ว เราจะต้องค้นหาความสัมพันธ์กันในลักษณะของการอุปมา ความสันพันธ์ที่เป็นตัวแทนของความรัก เราจะต้องค้นหาอย่างเฉพาะเจาะจงไปในทิศทางของระดับชั้นที่กว้างกว่านี้ ไปถึงพฤติกรรมหลักๆของคน ยกตัวอย่างเรื่องของการเลี้ยงดู การจับจ่ายใช้สอย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อีโรติกในสังคมผู้บริโภค ผมกำลังคิดถึงตัวอย่างของโตเกียวอีกครั้ง: สถานีรถไฟขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่สำคัญของพื้นฐานของบริเวณนั้นๆ และเป็นสถานที่ขนาดใหญ่สำหรับการไปเที่ยวซื้อของ และมันแน่นอนที่สถานีรถไฟญี่ปุ่น สถานีซื้อของ มีความหมายที่เฉพาะเจาะจงอยู่ที่ก้นบึ้งและความหมายนี้แหละที่เป็นอีโรติก: การซื้อของหรือการนัดพบกัน ต่อจากนั้นเราควรค้นคว้าลึกลงไปในภาพขององค์ประกอบเมือง ยกตัวอย่าง มีการสำหรวจมากมายที่เน้นย้ำเรื่องการทำงานทางจินตภาพของน้ำ น้ำที่ในทุกเมืองถูกประสบว่าเป็นแม่น้ำ คลอง และตัวของน้ำ มันมีความสัมพันธ์ระหว่างถนนและน้ำ และเราทุกคนทราบดีว่าเมืองที่ต่อต้านการให้ความหมายและบางครั้งบังเอิญนำเสนอความยุ่งยากในการปรับตัวสำหรับผู้อยู่อาศัยนั้นคือเมืองที่ไม่มีน้ำ เมืองที่ไม่มีหาด ไม่มีพื้นผิวของน้ำ ไม่มีทะเลสาบ ไม่มีแม่น้ำ ไม่มีลำธาร: เมืองทั้งหมดนี้นำเสนอความยากแก่ชีวิตอย่างชัดเจน

    สรุปแล้วผมอยากจะพูดแค่ว่า: ในเรื่องทั้งหมดที่ผมพูดมาผมไม่ได้แตะต้องปัญหาของระเบียบวิธีวิจัยเลย เพราะอะไร? เพราะถ้าเราต้องการจะศึกษาเกี่ยวกับสัญศาสตร์ของเมือง วิธีที่ดีที่สุด ในความเห็นของผม และแน่นอนสำหรับทุกๆความอาจหาญในการพยายามหาความหมาย คือความหลักแหลมของผู้อ่าน พวกเราหลายๆคนควรลองถอดความหมายเมืองที่เราอยู่ถ้าจำเป็นก็เริ่มจากทำเป็นรายงานส่วนตัว เน้นการอ่านไปที่ความหลากหลายของหมวดหมู่ที่แตกต่างกันของผู้อ่าน (สำหรับเราที่มีความครบถ้วนของผู้อ่านตั้งแต่คนพื้นเมืองไปจนคนต่างเมือง) เราควรจะสามารถค้นหาภาษาของเมืองได้ นี่คือเหตุผลที่ผมจะบอกว่านี่มันไม่สำคัญที่จะทำการสำหรวจหรือศึกษาการใช้งานของเมืองให้มากขึ้น แต่ต้องเพิ่มจำนวนการอ่านเมืองที่น่าเสียดายที่นักเขียนหลายๆคนแค่ยกตัวอย่างมาเท่านั้น

     เริ่มจากการอ่านเหล่านี้ จากการประกอบสร้างใหม่ของภาษาหรือรหัสของเมือง เราสามารถไปต่อกับอะไรที่เจาะจงมากขึ้น ความหมายของหน่วย ไวยากรณ์ และอื่นๆ แต่ต้องระลึกไว้เสมอๆว่าเราจะต้องไม่หาควาหมายที่แข็งทื่อที่ผูกกับหน่วยที่เราค้นพบ เพราะว่าโดยประวัติศาสตร์แล้ว ความหมายเหล่านี้มักจะไม่ชัดเจน กำกวมและไม่สามารถจัดการได้

     เราประกอบสร้าง เราสร้างทุกๆเมืองจากภาพลักษณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยดั่งเรืออาร์โก้ (Argo) ที่ทุกๆชิ้นส่วนไม่ใช่ชิ้นดั่งเดิมอีกต่อไป แต่ยังเป็นเรืออาร์โก้อยู่ นี่แหละคือชุดของความหมายที่สามารถถูกอ่านและถูกหมายจำได้อย่างง่ายดาย ในความพยายามในการหาความหมายของเมืองนี้เราควรลองทำความเข้าใจพฤติกรรมของสัญลักษณ์ ทำความเข้าใจว่าเมื่อต่างๆเป็นโครงสร้าง แต่เราจะต้องไม่พยายามและไม่ต้องการที่จะเติมอะไรลงไปในโครงสร้างนี้

     สำหรับเมืองคือบทกวีดั่งเช่นที่บางครั้งก็ถูกกล่าวเอาไว้อย่างนั้น เป็นดั่งที่อูโกบอกเอาไว้ได้ดีกว่าใครๆ แต่นี่ไม่ใช่บทกวีโบราณที่เกี่ยวกับอะไรบางอย่างอย่างอยู่อย่างเดียว มันคือบทกวีที่คลี่คลายความหมาย และการคลี่คลายนี้ที่สุดท้ายแล้วเป็นสิ่งที่สัญศาสตร์ของเมืองควรไขว่คว้าเอาไว้และทำให้มันกู่ก้องร่ำร้อง


อย่างที่บอกไว้ว่าผมไม่ใช่นักแปล พอหลังจากที่ผมแปลไปสักพัก ผมก็รู้สึกว่าผมแปลได้แย่มาก แปลแทบจะตรงตัวจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อย่างกับ Google Translate เลย แต่จะหยุดแปลกลางทางก็กะไรอยู่ เพราะเสียดายที่แปลไปบ้างแล้ว ก็ต้องกลำกลืนฝืนทนแปลให้จบ ตั้งใจว่าครั้งหน้าจะไม่ทำอย่างนี้แล้ว ทำเป็นแบบเขียนสรุปดีกว่า 

หรือไม่ก็ถ้าจะแปลควรแปลอะไรที่มันสั้นกว่านี้ นี่ก็เล็งๆ How an Exposition exposes Itself ของ Umberto Eco เอาไว้ สั้นกว่านี้ สัก 3 เท่าได้ แต่ต้องดูความสะดวกอีกที ยังไงวันนี้ลาไปก่อน

อ้อ! สำคัญมาก ถ้าตรงไหนผมแปลแย่มากแล้วอยากให้แก้ไขเป็นอย่างไรก็บอกได้เลยนะครับ :D